สิ้นสุดการรอคอย เหล่า 5 ชาร์คหวนคืนจอกับสุดยอดรายการเรียลลิตี้ประเภทธุรกิจ อันดับ 1 ของโลก ที่พลิกธุรกิจมาแล้วมากกว่า 55 ประเทศทั่วโลกกับรายการ SHARK TANK THAILAND ซีซั่น 3

เตรียมพบกับนักลงทุน นักธุรกิจระดับหมื่นล้านของเมืองไทยที่ยกทัพมาเพื่อสานฝัน ต่อยอดธุรกิจ แก่ผู้ประกอบการ SMEs , Startup ของไทย ให้ไปสู่ความสำเร็จ นอกจากอำนาจทางการเงินเหล่าชาร์คยังมีทั้ง Connection ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมาอย่างมากมาย

มาล่วมลุ่นกันว่าเหล่าผู้ประกอบการในซีซั่น 3 นี้จะมาทำให้เหล่าชาร์คของเราได้ร่วมลงทุนไปกับธุรกิจของพวกเขาได้หรือไม่ ?

การกลับมาของนักลงทุนทั้ง 5 ท่าน หรือที่เราเรียกกันว่า “ชาร์ค” ที่ทั้งเงินทุน Connection ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ มากมาย คุณจะได้พบเจอกับ “ชาร์คเต้ ภูริต ภิรมย์ภักดี” ทายาทบริษัท บุญรอด เทรดดิ้ง จำกัด หรือ แบรนด์ “สิงห์” ที่อยู่คู่กบคนไทยมามากกว่า 89 ปี ถึงจะยังหนุ่มแต่ประสบการณ์ในการบริหารนั้นบอกได้เลยว่ามากมาย ทั้งหล่อ เท่ห์ เก่ง หากธุรกิจไหนชาร์คเต้ร่วมลงทุน รับรองว่าต้องไปได้ไกล “ชาร์คกฤษน์ ศรีชวาลา” เจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของประเทศไทย เข้าของอาณาจักรหมื่นล้าน ฟิโก้ กรุ๊ป ด้วยมุมมองธุรกิจอันเฉียบขาด ความเชี่ยวชาญในการดำนินธุรกิจมาอย่างมากมายด้วยประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมากมายขนาดนี้หากได้ร่วมทุนแล้วไม่มีผิดหวังแน่นอน  “ชาร์คหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงษ์” ผู้ก่อตั้งอาณาจักร Tech Startup “OokBee” แอพพลิเคชั่นแพลตฟอร์ม E-Book ชั้นนำของประเทศ อีกทั้งยังควบตำแหน่งผู้จัดการกองทุน Startup “Tuktuk 500” ที่ปัจจุบันได้ลงทุนใน Startup ไทยไปแล้วมากกว่า 70 บริษัท!! “ชาร์คประพล มิลินทจินดา” ประธาน People Park Community Mall อ่อนนุช และผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนและตลาดหลักทรัพย์ ที่จะช่วยเหลือการวางระบบการบริหารในบริษัทให้มีทิศทางที่ชัดเจนพร้อมนำพาธุรกิจเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต “ชาร์คจิง ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ” ชาร์คหญิงสุดแกร่งหนึ่งเดียวในรายการ ทายาทคนโตบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อันดับ 1 ของประเทศ ที่รู้จักกันในนาม “ไทยซัมมิท” ผู้ทำหน้าที่บังคับทิศทางธุรกิจยักษ์ใหญ่ กว่าที่ชาร์คจะก้าวผ่านมาถึงจุดนี้ชาร์คจิงต้องผ่านบททดสอบต่างๆ มาอย่างมากมาย ประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจนั้นรับรองว่าไม่แพ้ชาร์คท่านอื่นๆแน่นอน

และยังมีเหล่าชาร์ครับเชิญอีกมากมายที่จะสลับสับเปลี่ยนเข้ามาสร้างสีสันและร่วมลงทุนในรายการทุกสัปดาห์

มาล่วมลุ่นกันว่าเหล่าผู้ประกอบการในซีซั่น 3 นี้จะมาทำให้เหล่าชาร์คของเราได้ร่วมลงทุนไปกับธุรกิจของพวกเขาได้หรือไม่ ?

เริ่มออกอากาศตอนแรกในวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม นี้ที่ช่อง 7HD กด 35 และช่องทาง Facebook Live

 

ติดตามข่าวสารได้ที่

Website : https://www.sharktankthailand.com/
Facebook : https://www.facebook.com/sharktankTH

Youtube :https://www.youtube.com/channel/UC_71KB_vOJCsn8IonZQ6Rgg
Line : https://lin.ee/CPSxGUy

Instargram : @sharktankthailand

Twitter : @Sharktank_TH

Tiktok : @Sharktankthailand

     โออาร์ เชิญชวนผู้ประกอบการธุรกิจทุกขนาด สตาร์ตอัป และผู้สนใจร่วมเส้นทางเติมเต็มโอกาสเพื่อการเติบโตไปด้วยกันในงานเสวนาและโชว์เคสธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่แห่งปี “Inclusive Growth Days empowered by OR” ระดม 50 ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักธุรกิจชั้นนำ ร่วมเจาะลึกโมเดลธุรกิจแห่งอนาคตที่จะมาช่วยต่อยอดการลงทุน ผู้เชี่ยวชาญวงการสตาร์ตอัปมาไขรหัสแห่งความสำเร็จ พร้อมทั้งการจัดแสดงสินค้า นวัตกรรม และเทคโนโลยีจากพันธมิตรของ โออาร์ ที่จะยกระดับธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมโอกาสในการสรรหาพันธมิตร สร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เพื่อร่วมเติมเต็มศักยภาพและก้าวสู่ความสำเร็จไปด้วยกัน เพลิดเพลินกับการช้อปปิ้งสินค้าไทยเด็ด อิ่มอร่อยกับอาหารและเครื่องดื่มจากร้านค้าและแบรนด์ชั้นนำ รวมถึงความบันเทิงจากศิลปินนักร้อง นักแสดงชั้นนำ และแขกรับเชิญเซเลบริตี้มากมาย ตั้งแต่ 22 – 24 กรกฎาคม 2565 ที่ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22 ลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรีที่ https://www.zipeventapp.com/e/Inclusive-Growth-Days

นอกเหนือจากสร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเติบโตร่วมกันแบบ Inclusive Growth ไฮไลต์ของงานเสวนา สอดคล้องกับพันธกิจทั้ง 4 ของ โออาร์ ประกอบด้วย

  • Seamless Mobility – EV พลิกโฉมธุรกิจพลังงานและการเคลื่อนที่อย่างไร้รอยต่อ
  • All Lifestyles – ตอบโจทย์ทางเลือกการใช้ชีวิตในอนาคต ทั้งอาหาร สุขภาพ และการท่องเที่ยว รวมถึงช็อปผลิตภัณฑ์ชุมชนจากโครงการไทยเด็ดทั่วประเทศ
  • Global Market – โอกาสของธุรกิจไทยในต่างแดน และหลากหลายสูตรสำเร็จเพื่อการเติบโตในต่างประเทศ รวมถึงเคล็ดวิชาของ Café Amazon และ PTT Station ในตลาดโลก
  • OR Innovation – นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน สร้างตลาดใหม่ด้วยการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม ไขรหัสความสำเร็จของ Flash Express สตาร์ทอัประดับยูนิคอร์นรายแรกของไทย และอีกหลากหลาย Solution ล้ำยุค

โออาร์ ทุ่มเทความตั้งใจจัดงานนี้เพื่อให้ผู้เข้าชมงาน ทั้งนักธุรกิจ นักลงทุน พนักงาน ตลอดจนประชาชนทั่วไปได้เห็นถึงโมเดลทางธุรกิจแห่งอนาคต ที่จะต้องสานพลังและประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน เพื่อการเติบโตแบบ Inclusive  และยังมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมจากพันธมิตรของ OR ทั้งตัวแทนจำหน่าย ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี  สตาร์ทอัป และ
แบรนด์ต่าง ๆ รวมกว่า 50 บูธ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้า นวัตกรรมเพื่อการใช้ชีวิตในโลกยุคใหม่ ผลิตภัณฑ์และสินค้าอาหารจากธุรกิจในเครือและพันธมิตรของ OR และ Café Amazon  ผลิตภัณฑ์และอาหารจากโครงการไทยเด็ด และเพลิดเพลินกับเครื่องดื่มหลากหลายจาก Cafe Amazon ที่มาจำลองบรรยากาศ Green Oasis ขึ้นภายในงาน รวมถึงเมนูพิเศษที่มีจำหน่ายเฉพาะ Café Amazon ในต่างประเทศเท่านั้น พร้อมมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง อาทิ นน ธนนท์, เอ๊ะ จิรากร, เจ๋ง บิ๊กแอส,โต้ง ทูพี และกิจกรรมสนุกสนานจากดารา นักแสดง และแขกรับเชิญเซเล็บคนดังมากมายที่มาร่วมงาน อาทิ ไบร์ท      นรภัทร, ตรี ภรภัทร, ฟิ ล์ม ธนภัทร, ตงตง กฤษกร, เน๋ง ศรันย์, กระทิง ขุนณรงค์, ภณ นวัสน์

สำหรับหัวข้อการบรรยายและการเสวนาบนเวทีที่น่าสนใจ ประกอบด้วย

Start-Up Sharing Session: 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 10:00 น. – 12:30 น.

  • แนะนำธุรกิจ โดย 11 สตาร์ทอัปและธุรกิจร่วมลงทุน (VC) ที่มาร่วมงาน

Inclusive Growth Theme: 22 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:00 น. – 17:30 น.

  • กล่าวเปิดงานในหัวข้อ “Inclusive Growth ทิศทางธุรกิจแห่งอนาคต” โดย จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ OR
  • “Inclusive Economy ก้าวต่อไปของเศรษฐกิจไทย เศรษฐกิจที่เติบโตร่วมกับสังคม” โดย ดนุชา พิชยนันน์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • “Inclusive Business Model โมเดลธุรกิจแห่งอนาคต โมเดลธุรกิจที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ดร. ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนวัฒน์             สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด และ จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ OR
  • “Inclusive Finance โมเดลการเงินแห่งอนาคต เพื่อการเติบโตร่วมกัน” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย วิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ธนา โพธิกําจร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กสิกร ไลน์ จำกัด และ ดร.สันติธาร เสถียรไทย ประธานทีมเศรษฐกิจ (Group Chief Economist) และกรรมการผู้จัดการ ซีกรุ๊ป
  • ปิดท้ายด้วยมินิคอนเสิร์ตจาก เอ๊ะ-จิรากร สมพิทักษ์

Seamless Mobility Theme: 23 กรกฎาคม 2565 เวลา 9:00 – 14:00 น.

  • “From Gas to Green พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค วรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) สมฤดี ชัยมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และบุญมา พนธนกรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน OR
  • “The World of EV ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อโลกเพื่อเรา” โดย รศ.ดร. ยศพงษ์ ลออนวล หัวหน้าศูนย์วิจัย Mobility and Vehicle Technology Research Center (MOVE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
  • “EV Moments ช่วงเวลาที่ดีต่อใจ ดีต่อโลก” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ศิวภูมิ เลิศสรรค์ศรัญย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คาร์ซัม (ประเทศไทย) จำกัด เอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด และวริศร เรียงประยูร กรรมการผู้จัดการ เอ มอเตอร์ส กรุ๊ป
  • “The World of Seamless Mobility โลกแห่งการเคลื่อนที่อย่างไร้รอยต่อ” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ประธานกรรมการ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด (เคเคทีที) พชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ธารินี สุทธิปริญญานนท์ นายกสมาคมการค้าผู้แทนจำหน่ายสถานีบริการน้ำมันพลังไทย PTT และบุญมา พนธนกรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน OR
  • พักครึ่งด้วยมินิคอนเสิร์ตจาก นน – ธนนท์ จำเริญ

All Lifestyles Theme: 23 กรกฎาคม 2565 เวลา 14:00 – 16:30 น.

  • “Taste of Happiness รสชาติแห่งความสุข” โดย ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการบริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์กรุ๊ป จํากัด (มหาชน)
  • “Wellness Destination จุดหมายที่ร่างกายได้ยิ้ม” โดย ฐิติพัฒน์ ศุภภัทรานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธัญ-ออริซ่า จำกัด ผู้ก่อตั้ง THANN Wellness Destination
  • “Beyond Food มากกว่าอาหารแต่คือสุขภาพที่ดีขึ้น” ร่วมเสวนาโดย ชลากร เอกชัยพัฒนกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปลูกผักเพราะรักแม่ จำกัด (โอ้กะจู๋) กุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด แดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) และสมยศ คงประเวช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีก OR
  • “All Lifestyles for Good Health ตอบโจทย์การใช้ชีวิตกับสุขภาพดีที่คุณเลือกได้” ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย นพ. ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก วสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) วิภาวี วงศ์สิริศักดิ์ CCO และผู้ร่วมก่อตั้งโกวาบิ และ นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย)

Global Market Theme: 24 กรกฎาคม 2565 เวลา 9:00 – 13:30 น.

  • “Borderless Fashion แฟชั่นไร้พรมแดน” โดยเดวิด โจว ประธานกรรมการบริหาร (ซีอีโอ) และผู้ร่วมก่อตั้ง โพเมโล แฟชั่น
  • “Thai Brands to Global Market สร้างแบรนด์ไทยสู่แบรนด์โลก” โดยผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) วีรพลน์ เตชะผาสุขสันติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสกุลฎ์ซี อินโนเวชั่น จำกัด และรชา อุทัยจันทร์​ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่การตลาดต่างประเทศ OR
  • “Thai Business in Global Arena ธุรกิจไทยไม่แพ้ใครในเวทีโลก” โดยผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย กฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล ดร. เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด และชัยวัฒน์ นันทิรุจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอกา โกลบอล จำกัด
  • “Global Opportunities for Thai Businesses โอกาสการเติบโตของธุรกิจไทยในต่างแดน” โดย สนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  • พักครึ่งด้วยมินิคอนเสิร์ตจาก เจ๋ง-เดชา โคนาโล และทูพี-พิทวัส พฤกษกิจ

New Innovation Theme: 24 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:30 – 17:00 น.

  • “Impact Innovation สตาร์ตอัปยุคต่อไป สร้างตลาดใหม่โดยแก้ปัญหาสังคม และสิ่งแวดล้อม” โดย กระทิง พูนผล ผู้ก่อตั้งกองทุน 500 TukTuks และผู้บริหารกองทุน ORZON Ventures
  • การสัมภาษณ์พิเศษ “The Journey of Thailand’s 1st Unicorn กว่าจะเป็นยูนิคอร์นตัวแรกของเมืองไทย” คมสันต์ ลี ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจแฟลช (โดยรวิศ หาญอุตสาหะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีจันทร์สหโอสถ จํากัด ผู้ก่อตั้งเพจ Mission to the Moon เป็นผู้สัมภาษณ์)
  • “Technology for a Sustainable Future เทคโนโลยีเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” โดยผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย ธีระ กนกกาญจนรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท อรินแคร์ จำกัด ธมลวรรณ วิโรจน์ชัยยันต์​      ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มอร์ลูป จำกัด แซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด และ นพ. ศุภชัย ปาจริยานนท์ กรรมการ บริษัท ไรส์ อินโนเวชั่น ฮับ จำกัด
  • “New Innovation toward Sustainable Society นวัตกรรมสู่สังคมที่ยั่งยืน” โดยผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย  พงษ์ลดา พะเนียงเวทย์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง เฟรชเก็ต สมศักดิ์ บุญคำ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Local Alike หลุยส์ อัลบาน บาทาร์ด ดูเปร ผู้ก่อตั้งแอพพลิเคชั่น “ยินดี (Yindii) และราชสุดา รังสิยากูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการ Orion OR
  • ปิดท้ายด้วย “Together toward Inclusive Growth เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกัน” โดยจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ OR

คุณจิราพร ขาวสวัสดิ์

    นางสาวจิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ กล่าวว่า “โออาร์ ได้เดินหน้าวิสัยทัศน์ใหม่ “เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกัน” ด้วยความเชื่อว่า ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของโลก องค์กรธุรกิจต้องปรับตัวและพลิกโฉม นำโมเดลทางธุรกิจและนวัตกรรมใหม่มาใช้ และประสานความร่วมมือกัน เพื่อเดินหน้าสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมที่จะส่งเสริมผู้คนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างสรรค์ชุมชนที่น่าอยู่ และรักษาสิ่งแวดล้อมให้ยังคงอุดมสมบูรณ์สำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคต เราจึงจัดงาน “Inclusive Growth Days empowered by OR” ขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะขับเคลื่อนโอกาสและสร้างแรงบันดาลใจในการดำเนินธุรกิจสู่อนาคต ผู้ประกอบการธุรกิจทุกรูปแบบ ทุกขนาด ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ รวมถึงสตาร์ตอัป จะได้รับประโยชน์โดยตรงเมื่อมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์  รวมถึงมองหาพันธมิตรและช่องทางธุรกิจ ตลอดจนสร้างความร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่างธุรกิจต่าง ๆ”

คุณจิราพร ขาวสวัสดิ์

“คุณค่าและสาระประโยชน์จากเวทีเสวนาและโชว์เคสครั้งสำคัญนี้เกิดขึ้นได้ ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากผู้บริหารจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลอดจนนักธุรกิจและผู้บริหารองค์กรธุรกิจชั้นนำจากหลากหลายภาคอุตสาหกรรม รวมกว่า 50 ท่าน ที่ให้เกียรติมาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ แลกเปลี่ยนมุมมอง และประสบการณ์ ด้วยความตระหนักดีว่า การดำเนินธุรกิจแบบเดิมที่มุ่งเน้นเพียงการแสวงหาผลกำไร ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน ถึงเวลาแล้วที่เราจะมาร่วมสร้างโอกาสให้ทุกคนในสังคมเติบโตร่วมกันแบบ Inclusive Growth”  นางสาวจิราพร กล่าวเสริม

Banner OR

ร่วมอิ่มอร่อยเพลิดเพลินไปกับอาหาร เครื่องดื่ม และ สนุกกับนักแสดงศิลปิน นักร้องชื่อดังมากมาย แถมมีของรางวัลแจกทุกวัน ที่สำคัญ ลงทเบียนฟรี!!!

ตั้งแต่ 22 – 24 กรกฎาคม 2565

ที่ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรีที่ : https://www.zipeventapp.com/e/Inclusive-Growth-Days

 

 

ผ่านไปแล้วกับการเฟ้นหาสุดยอดไอเดียทางธุรกิจ รายการ “ชาร์กแท็งก์ ไทยแลนด์ ซีซั่น 2” ที่ได้รับกระแสตอบรับอย่างดีจากกลุ่มผู้ชมตลอดทั้ง 17 ตอน ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 7HD และช่องทางออนไลน์หลักของรายการ ทิ้งท้ายด้วยความประทับใจกับการปิดดีลไอเดียสุดเจ๋งของผู้เข้าแข่งขัน ซึ่งตลอดทั้ง 2 ซีซั่นที่ผ่านมา ได้พิสูจน์แล้วว่า รายการ “ชาร์กแท็งก์ ไทยแลนด์” เป็นเรียลลิตี้ทางธุรกิจ หนึ่งเดียวในไทย ที่สานฝันผู้ประกอบการ ไปสู่จุดหมายได้อย่างแท้จริง และยังเป็นที่พึ่งทางธุรกิจ ที่ได้มากกว่าความสนุก ยังเต็มไปด้วยเทคนิค รวมไปถึงข้อมูลที่ผู้ชมสามารถนำไปปรับใช้ในกิจการของตัวเองได้

รายการ “ชาร์กแท็งก์ ไทยแลนด์ ซีซั่น 2” ถือเป็นตำนานทางธุรกิจบทที่ 2 ที่สามารถจับต้องได้ ตลอดการแข่งขันมีการนำเสนอธุรกิจ SME ในหลากหลายอาชีพ ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง ธนาคารออมสิน ที่ร่วมเสริมทัพด้านเงินทุน และมอบโอกาสให้เหล่าผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือก ซึ่งรายการทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างดราม่าฉะเดือดตลอดการแข่งขัน จาก 5 ชาร์กนักลงทุน โดย “ชาร์กแท็งก์ ไทยแลนด์ ซีซั่น 2”  ผู้ประกอบการสามารถนำเสนอไอเดีย ผ่านด่านสุดโหด ปิดดีลทางธุรกิจ คว้าเงินสนับสนุนจากเหล่า Shark (ชาร์ก) จำนวน 165 ล้านบาท เพื่อนำไปสานต่อธุรกิจให้สู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืน ตามวัตถุประสงค์ของรายการ

ธุรกิจพิชิตล้าน รายการ “ชาร์กแท็งก์ ไทยแลนด์ ซีซั่น 2” ได้สนับสนุนเงินทุนแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกจาก 5 ชาร์กนักลงทุน ไม่ว่าจะเป็น คุณเต้ ภูริต ภิรมย์ภักดี, คุณแอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์, คุณกฤษน์ ศรีชวาลา, คุณเบอร์ดี้ บดินทร์ธร จึงรุ่งเรืองกิจ, และคุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซึ่งมีผู้เข้าแข่งขันได้รับการปิดทางธุรกิจทั้งสิ้น 24 ราย อาทิเช่น มะม่วงกรอบ อาเสี่ยใหญ่, add on Taxi, Local Alike, ไมโครเวนดิ้งเทค จํากัด, หลอดน้ำ ที่ย่อยสลายเองได้ชุดทดลองการเรียนรู้ช่างไฟฟ้าระบบอัตโนมัติ, อิจิบังราเมน เป็นต้น นับเป็นปรากฏการณ์รายการเรียลลิตี้เชิงธุรกิจของประเทศไทย ที่ส่งเสริมธุรกิจ SME ให้ก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง ทั้งนี้ธุรกิจที่ได้รับการดีลตามข้อเสนอของชาร์กแต่ละท่านในรายการ “ชาร์กแท็งก์ ไทยแลนด์ ซีซั่น 2” จะได้รับการดูแลตามสัดส่วนตัวเลขเงินลงทุน จากรายการและผู้สนับสนุน เพื่อให้แผนธุรกิจที่ได้นำเสนอเป็นไปตามเป้าหมายที่ทุกฝ่ายได้วางไว้

ปรากฏการณ์ รายการ “ชาร์กแท็งก์ ไทยแลนด์ ซีซั่น 2” ถือได้ว่าถูกยอมรับ และพูดถึงในวงการธุรกิจ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่มีฝัน เสนอไอเดียแบบไร้ขีดจำกัด ภายใต้โมเดลธุรกิจที่สามารถเดินต่อไปได้ในสภาวะความเป็นจริง โดยมุ่งหวังให้เกิดเม็ดเงินสะพัดในตลาดธุรกิจ SME โดยเฉพาะกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ เพื่อหนุนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตขึ้น

ตำนานบทใหม่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น มาเฟ้นหาสุดยอดไอเดียทางธุรกิจ ที่จะเข้มข้นมากขึ้นคูณสาม เตรียมตัวให้พร้อม ธุรกิจที่คุณดำเนินอยู่อาจจะได้รับการต่อยอดไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน เปิดรับสมัครแล้ววันนี้กับ รายการ “ชาร์กแท็งก์ ไทยแลนด์ ซีซั่น 3”ผู้สนใจสามารถสมัครได้ที่ www.sharktankthailand.com  หรือรับชมรายการย้อนหลัง และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ FB: Shark Tank Thailand และ YouTube: MEDIA Tank, Line OA: @sharktankthailand

รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับการสนับสนุนจากรายการ “ชาร์กแท็งก์ ไทยแลนด์ ซีซั่น 2”

  1. มะม่วงกรอบอาเสี่ยใหญ่
  2.  Add on taxi
  3. Truly Hill Coffee กาแฟเพื่อสุขภาพ
  4. Local alike
  5. (สสว.) Ananas ห้างหุ้นส่วนจำกัดครัวเจ๋ง สันในหมูฝอยไร้มัน
  6. Alter: supplement gummy
  7. ไมเครเวนดิ้งเทค จำกัด
  8. ชุดทดลองการเรียนรู้ช่างไฟฟ้าระบบอัตโนมัติ
  9. Lamitra
  10. ข้าวเกรียบปลาทู
  11. เสปรย์คลายเครียด
  12. Logistics enabler
  13. จีบต้มไฮโซ
  14. หลอดน้ำที่ย่อยสลายเองได้
  15. ผัดหมี่ไท-ยวน
  16. เตียงอัจฉริยะสำหรับผู้ป่วยติดเตียง/ผู้สูงอายุ
  17. พริกแกง แคทเทอริ่ง
  18. ปั้นสี (มศว.)
  19. ธุรกิจชานมไข่มุก Liu cha
  20. ครัวแต้จิ๋ว
  21. บริษัท ฟิตทูฟลายสตูดิโอ จำกัด
  22. (สสว.) ผลิตภัณฑ์น้ำมะปี๊ด
  23. อิจิบังราเมน
  24. Doter Tiw

สำหรับคอรายการ Shark Tank Thailand ต้องได้ยินคำศัพท์สะดุดหูหลายต่อหลายคำที่เกี่ยวข้องกับแวดวงธุรกิจทั้งจากเหล่า Shark และ ผู้ประกอบการ กันอยู่ทุกตอน วันนี้เรารวบรวม 10 อันดับคำศัพท์ยอดฮิตฉบับ Shark Tank Thailand มาฝากกันครับ

  1. Business Deal หมายถึง ข้อตกลงทางธุรกิจ
  2. Strategic Partner หุ้นส่วนหรือพันธมิตรเชิงกลยุทธ์
  3. Modern Trade การค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง สะดวก ต้นทุนต่ำ
  4. Digital Marketing การทำการตลาด โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น
  5. Franchise ธุรกิจที่ผู้ค้ารายย่อยดำเนินธุรกิจในนามของอีกบริษัทหนึ่ง โดยได้รับอนุญาตจากบริษัทนั้นๆ โดยส่วนใหญ่การขายสินค้าหรือบริการ รวมถึงภาพลักษณ์และลักษณะการดำเนินธุรกิจจะได้รับการแนะนำหรือควบคุมโดยบริษัทผู้ให้สิทธิอนุญาต
  6. Merchandize การขายสินค้า
  7. OEM (Original Equipment Manufacturer) การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด
  8. SOD (Standing Order) การยืนยันจำนวนสั่งซื้อ
  9. B2B (Business to Business) การค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าแต่ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ซึ่งซื้อสินค้าและบริการเพื่อนำไปผลิตต่อด้วยการเพิ่มคุณค่าให้เป็นสินค้าและบริการอีกอย่างหนึ่ง หรือร้านค้าปลีกสั่งซื้อสินค้ากับบริษัทผู้ผลิตสินค้า ไม่ได้นำไปอุปโภคหรือบริโภคเอง โดยส่วนใหญ่ผู้ซื้อและผู้ขายมักจะรู้จักกันล่วงหน้า และอาจทำเอกสารสัญญาที่เป็นกระดาษกันล่วงหน้า
  10. B2C (Business to Consumer) การค้าระหว่างผู้ค้าถึงลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคโดยตรง

เปิดรับสมัครด่วน!! สำหรับผู้สนใจมองหาเงินทุนต่อยอดธุรกิจ กับรายการดังระดับโลก “Shark Tank Thailand” รายการเรียลลิตี้โชว์เชิงธุรกิจ เป็นรายการดังที่ได้ออนแอร์ไปแล้วในหลายประเทศทั่วโลก โดยต้นฉบับมาจากรายการ Dragons’ Den ประเทศญี่ปุ่น และโด่งดังมากที่ประเทศสหรัฐอเมริกา

หลายท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อของรายการ Shark Tank มาบ้างตามเว็บไซต์ธุรกิจต่างๆ แต่ใครจะบ้างจะรู้ว่าที่มาที่ไปของรายการมาจากไหน วันนี้เรามีสรุปให้คุณได้รู้จักรายการนี้มากยิ่งขึ้น

  1. รายการ SHARK TANK เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ใช้ชื่อว่า DRAGON’S DEN โดย NIPPON TV เดือน ตุลาคม ปี 2001
  2. ประเทศที่ 2 ที่ ทำรายการ SHARK TANK คือ ประเทศ อังกฤษ โดย BBCในเดือนมกราคม 2005
  3. รายการ SHARK TANK โด่งดังมาก ที่ประเทศออสเตรเลีย เดือนพฤศจิกายน ปี 2005
  4. ที่สหรัฐอเมริกา ผลิตรายการ SHARK TANK ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ปี 2009
  5. ณ ปัจจุบัน ปี 2018 รายการ SHARK TANK มีผลิตแล้ว รวม 40 ประเทศ ทั่วโลก
  6. ประเทศไทย นำ รายการ SHARK TANK เข้ามา โดยบริษัท วันดี มีเดีย จำกัด ในปี 2017 เป็นประเทศที่ 36 จาก 40 ประเทศทั่วโลก และออกอากาศในปี 2018
  7. SHARK TANK หรือ DRAGON’S DEN คือรายการเดียวกัน ประเทศที่ซื้อ FORMAT ไป สามารถเลือกชื่อรายการได้ตาม LOCAL MARKET NEEDS
  8. ปี 2015 และ 2014 รายการ SHARK TANK USA ชนะ รางวัล Best Reality Series in USA
  9. ปี 2014 รายการ SHARK TANK USA ชนะ รางวัล Outstanding Structured Reality Program, Creative Arts Emmy Awards
  10. ปี 2005 ,2011, 2014 และ 2015 รายการ SHARK TANK CANADA ชนะ รางวัล Best Reality , Canadian Success Award

ซึ่งนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายการ Shark Tank Thailand เท่านั้น หากอยากรู้จักรายการมากยิ่งขึ้น ต้องรอติดตามอัพเดตจากทางเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง แล้วเจอกันปลายปีนี้ Shark Tank Thailand

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองเทรนด์ลงทุนภาครัฐ, เที่ยวไทย, สังคมสูงวัย ปีหน้ายังดี ขณะเดียวกันเทรนด์เศรษฐกิจโลกโตหนุนธุรกิจส่งออกโตสดใส และเทรนด์ดิจิทัลพลิกสมรภูมิค้าปลีก/ค้าส่งไทย พร้อมทั้งล้วงลึก 15 ธุรกิจแนวโน้มสดใสโตตาม 5 เทรนด์เศรษฐกิจปี 2561

1.เทรนด์การลงทุนภาครัฐ

เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้น 2 – 3 ปีต่อเนื่อง ที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินก่อสร้างกว่า 7.7 แสนล้านบาท จากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ส่วนใหญ่อยู่ในระยะก่อสร้าง โครงการลงทุนและจัดซื้อตามงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561

โดยภาครัฐฯ ได้เร่งการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่ออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ ธุรกิจเด่นที่ได้รับอานิสงค์ คือ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจที่ปรึกษาการก่อสร้าง/สิ่งแวดล้อม ธุรกิจขาย/ให้เช่าเครื่องจักรกลก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น เพราะนโยบายพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(EEC) ทำให้มีการลงทุนก่อสร้างโรงงาน สำนักงาน ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น เป็นแรงหนุนธุรกิจกิจกลุ่มนี้อย่างต่อเนื่องในปีหน้า

2.เทรนด์ท่องเที่ยวไทย

ปีจอยังคงกระแสดีอย่างต่อเนื่อง TMB Analytics คาดการณ์ไทยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 37.0 ล้านคนในปีหน้า หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ เช่น กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี สุราษฎร์ธานี ฯลฯ

ธุรกิจดาวเด่นที่ได้รับประโยชน์จากเทรนด์นี้คือ ธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร ธุรกิจขนส่ง อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่รออยู่คือ ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวนั้นท่องเที่ยวในไทยนานขึ้นและกระจายนักท่องเที่ยวสู่จังหวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการบ้านที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬายังต้องคิดต่อไป

3.เทรนด์สังคมสูงวัยและใส่ใจสุขภาพ

มีอิทธิพลต่อธุรกิจและเศรษฐกิจไทยมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากอัตราประชากรสูงอายุที่คาดว่าปีหน้า จะมีจำนวนกว่า 10.5 ล้านคน หรือร้อยละ 16.0 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 12.3 ล้านคน ในอีก 5 ปีข้างหน้า

นอกจากเม็ดเงินใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพที่เพิ่มตามจำนวนผู้สูงอายุแล้ว กระแสการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย เล่นกีฬา เช่น การวิ่งออกกำลังกาย ฟิตเนส โยคะ แบดมินตัน ยังคงทำให้การใช้จ่ายด้านกีฬาและสันทนาการเพิ่มขึ้น ธุรกิจดาวเด่นตามเทรนด์นี้ คือ ธุรกิจดูแลผู้สูงวัย ร้านขายยาและอาหารเสริม ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ออกกำลังกาย

4.เทรนด์เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว

เป็นเทรนด์ล่าสุด ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนจากการเติบโตของเศรษฐกิจยุโรป สหรัฐฯ และตลาดเกิดใหม่ในโซนเอเชีย ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่อง ทำให้ยอดส่งออกของไทย 10 เดือนแรกขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 9.7

TMB Analytics คาดว่า ส่งออกไทยนี้ปี จะขยายตัวได้ร้อยละ 8 และคาดว่าจะเป็นแรงเหวี่ยงต่อเนื่องหนุนส่งออกไทยปีหน้าขยายตัวได้อีก ร้อยละ 4.8 ซึ่งธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลดีส่งออกได้มากขึ้น คือ ธุรกิจส่งออกอาหารแปรรูป ธุรกิจส่งออกผัก/ผลไม้ และ ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

5.เทรนด์เศรษฐกิจดิจิทัล

สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อธุรกิจค้าส่ง/ค้าปลีกจากเดิมเข้าสู่การค้าผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น นอกจากพฤติกรรมการจับจ่ายของคนไทยจะเปลี่ยนมาซื้อสินค้าบริการผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว ระบบการชำระเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ (Prompt Pay) อินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (internet banking) แอปพลิเคชันบนมือถือ (mobile application) ที่เชื่อถือได้ ใช้งานได้ง่าย และประหยัด ยังมีส่วนช่วยเร่งการจับจ่ายผ่านระบบออนไลน์อีกทาง

TMB Analytics คาดการณ์ว่า ปี 2561 มีมูลค่ากว่า 9.2 แสนล้านบาทและขยายตัวเป็น 3.0 ล้านล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 ต่อปี ธุรกิจที่ได้รับอานิสงค์โดยตรงจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ ธุรกิจขายของออนไลน์(สินค้าอุปโภคบริโภค) ธุรกิจขนส่งสินค้า ธุรกิจบริการด้านไอที


จาก 5 เทรนด์ดังกล่าว เป็นปัจจัยบวกที่จะผลักดันให้ 15 ธุรกิจดังต่อไปนี้ เป็นธุรกิจดาวเด่นที่ได้รับประโยชน์จากเทรนด์เหล่านี้ ได้แก่

เทรนด์การลงทุนภาครัฐ

  1. ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
  2. ธุรกิจที่ปรึกษาก่อสร้าง / สิ่งแวดล้อม
  3. ธุรกิจขาย / ให้เช่าเครื่องจักรกลก่อสร้าง

เทรนด์ท่องเที่ยวไทย

  1. ธุรกิจที่พัก
  2. ธุรกิจร้านอาหาร
  3. ธุรกิจขนส่ง

เทรนด์สังคมสูงวัยและใส่ใจสุขภาพ

  1. ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ
  2. ธุรกิจขายยาและอุปกรณ์การแพทย์
  3. ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ออกกำลังกาย

เทรนด์เศรษฐกิจโลกฟื้น

  1. ธุรกิจส่งออกอาหารแปรรูป
  2. ธุรกิจส่งออกผัก / ผลไม้
  3. ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

เทรนด์เศรษฐกิจดิจิทัล

  1. ธุรกิจขายของออนไลน์ (สินค้าอุปโภค-บริโภค)
  2. ธุรกิจขนส่ง
  3. ธุรกิจบริการด้านไอที

แหล่งที่มา
https://www.brandbuffet.in.th

By Praimpat Trakulchokesatiean

CEO ของธุรกิจ Startup ต้องพูดในที่สิ่งควรจะพูดเพื่อทำให้ธุรกิจมีความโดดเด่น เป็นที่สนใจของเหล่านักลงทุน ถึงแม้ว่า CEO แต่ละคนจะมีวิธีการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความสามารถและความถนัด แต่โดยทั่วไปแล้วจะควรจะอยู่บนหลักการ 7 อย่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนอยากรู้เกี่ยวกับธุรกิจของคุณนั่นแหละ บทความนี้แปลมาจาก Inc.com นะคะ แล้วก็มีการเพิ่มเติมข้อมูลจากประสบการณ์ที่ได้เข้าไปฟัง Pitching งานของ Startup มาพอสมควร หลักการที่ว่านั้นจะมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

บอกส่วนแบ่งตลาดหรือกำไรให้ชัดเจน

นักลงทุนอาจจะชอบวิสับทัศน์ของคุณมาก แต่นั่นไม่เพียงพอที่จะทำให้พวกเขาตัดสินใจลงทุนกับคุณหรอก เพราะเขาเองก็ต้องการทำกำไรด้วย ดังนั้น การบอกตัวเลขที่แสดงถึงผลกำไรที่ชัดเจนคือวิธีที่ดีที่สุดในการสร้างความประทับใจให้กับเหล่านักลงทุน

แสดงความเป็นไปได้ที่ธุรกิจจะเติบโต

นักลงทุนต้องอยากเห็นตลาดที่ยั่งยืนและมั่นคง คุณจึงต้องแสดงให้เห็นคุณค่าของธุรกิจและคุณค่านั้นจะเติบโตต่อไปได้อย่างไรบ้าง อธิบายว่าธุรกิจของคุณจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับคนแต่ละกลุ่มได้อย่างไร และแบรนด์ของคุณมีแนวโน้มว่าจะเติบโตมากแค่ไหน ทั้งในแง่ของตลาดและรายได้ที่จะหลั่งไหลเข้ามา เพราะนักลงทุนเองก็จะมองหาโอกาสที่จะให้เงินทำงานแทนพวกเขา ดังนั้น Startup จึงควรแสดงให้เห็นว่าการเลือกลงทุนกับคุณจะตอบโจทย์ทางการเงินของพวกเขา

มี Business Model ที่ชัดเจน

Business Model นี่แหละที่จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการเรียกความสนใจจากนักลงทุน พูดง่ายๆ คือต้องแสดงให้เห็นวิธีทำเงินของธุรกิจได้อย่างชัดเจน เป็นต้นว่ามีรายได้มาจากไหนบ้าง ใครคือลูกค้าบ้าง จะเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร เน้น B2B หรือ B2C ฯลฯ ซึ่งต้องมีขอบเขตที่ชัดเจนและมีรายละเอียดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะนักลงทุนไม่ได้มองหาธุรกิจที่แน่นอนตายตัว แต่พวกเขามองหาธุรกิจที่จะมีความเติบโตและมีแผนการที่ชัดเจนว่าจะเติบโตได้อย่างไร

เรื่องของ Business Model ยังมีรายละเอียดที่อยากเล่าให้ฟังอีกอย่างคือ ในกรณีที่ Business Model ของคุณไม่เหมือนกับใครที่ไหนเลย หรือคุณอาจจะเป็น First mover ในธุรกิจลักษณะนี้ ก็ควรจะอ้างอิงด้วยว่าในประเทศอื่นๆ มี Business Model ที่ใกล้เคียงกันหรือไม่ เผื่อว่าในอนาคตอาจจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ที่สามารถต่อยอดธุรกิจของคุณได้ ก็อาจจะเป็นเรื่องที่นักลงทุนให้ความสนใจเช่นกัน

ต้องตอบให้ได้ว่าธุรกิจของคุณตอบโจทย์อะไร

ธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและมองเห็น “ปัญหา” ที่อยากจะแก้ไขด้วยสินค้าและบริการของธุรกิจ โดยปัญหานี้ควรจะส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากในระดับหนึ่ง ส่วนปัญหาเล็กๆ ที่ส่งผลกระทบกับคนน้อยมากๆ นั้นอาจจะมีโอกาสทำเงินได้น้อยหรืออาจจะเจริญเติบโตได้ยากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม ขนาดของกลุ่มเป้าหมายนั้นไม่สำคัญเท่ากับว่าคุณระบุให้เห็นถึงปัญหาได้ชัดเจนแค่ไหนและสินค้าหรือบริการของคุณสามารถแก้ปัญหานั้นได้มากน้อยเพียงใด

พิสูจน์ให้เห็นว่าคุณแตกต่าง

อย่างแรกเลยคือคุณต้องเป็น “เจ้าของ” ธุรกิจของคุณอย่างแท้จริง ซึ่งมันหมายถึงการแสดงให้นักลงทุนเห็นว่าคุณมีสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์ที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของในธุรกิจนั้นๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่เครื่องหมายการค้าและลิขสิทธิ์ ต่างก็เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยได้รับการเอาใจใส่สักเท่าไรนักสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก นั่นคือความแตกต่างอย่างแรกที่ควรจะมี ประการที่ 2 คือ ความแตกต่างในแง่ของนวัตกรรม ซึ่งจะอยู่ในสินค้าและบริการที่มาจากธุรกิจของคุณ ถ้าเป็นไปได้ก็จับเอาสินค้าและบริการอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกันมาเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ เลยว่าสิ่งที่คุณขายนั้นต่างจากพวกเขาอย่างไร

แสดงให้เห็นว่าทีมของคุณเจ๋งมาก

นักลงทุนสนใจผลกำไรและโอกาสทางธุรกิจ แต่พวกเขาก็ต้องพิจารณาด้วยว่าใครบ้างที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้น และคนเบื้องหลังเหล่านั้นมีศักยภาพเพียงพอที่จะผลักดันให้ธุรกิจไปได้สวยหรือไม่ ไอเดียที่ดูดีมากเมื่ออยู่ในแผนธุรกิจจะเป็นแค่เรื่องเพ้อเจ้อทันทีหากไม่มีทีมที่ดีมาสนับสนุน ดังนั้น นอกจากคุณจะต้องจ้างคนเก่งๆ มาอยู่ในทีมแล้ว อย่าลืมเอาความสามารถของพวกเขามาอวดนักลงทุนด้วยล่ะ

แสดงให้เห็นว่าคุณเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร

การมีลูกค้าที่ซื้อหรือใช้บริการซ้ำๆ จะบ่งชี้ถึงความสำเร็จของธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง การเชื่อมโยงกับลูกค้าในลักษณะเครือข่ายถือเป็นสัญญาณที่ดีในสายตานักลงทุน ดังนั้นต้องแน่ใจว่าคุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและแสดงให้นักลงทุนเห็นว่าบรรดาลูกค้าของคุณน่ะ มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ของคุณมากแค่ไหน

ในแง่ของคนทำธุรกิจ Startup นอกจากจะต้องพัฒนาสินค้าและบริการให้ดีแล้ว สิ่งที่จะขาดไปไม่ได้และมีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจอย่างมากก็คือต้องรู้จักนักลงทุน รู้จักในที่นี้หมายถึง รู้ว่านักลงทุนมองหาอะไรจากธุรกิจของคุณ ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องทำควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ก็คือการศึกษาข้อมูลที่จำเป็น ซึ่งจะเปรียบเทียบง่ายๆ มันก็เหมือนกับคาถาเรียกเงินนั่นแหละ ยิ่งมีข้อมูลที่เตะตานักลงทุนเท่าไร คุณก็ยิ่งได้เปรียบมากขึ้นเท่านั้น ลองเอาหลักการ 7 อย่างนี้ไปใช้ในการร่างเค้าโครงเวลาจะนำเสนองานกับนักลงทุนดูนะคะ น่าจะได้ผลตอบรับที่ดีจากนักลงทุนแน่นอน


แหล่งที่มา
http://thumbsup.in.th

จะเป็นอย่างไรถ้าเริ่มทำธุรกิจแล้วมีคนคอยสอน คอยบอก เพื่อให้เราผิดพลาดน้อยลง และประสบความสำเร็จเร็วขึ้น เพราะไม่ต้องเดินตกหลุมแห่งความผิดพลาดที่คนเหล่านี้ตกมาแล้ว

Next Empire สรุปข้อคิดจาก 10 นักธุรกิจชื่อดังมาให้อ่านแล้วที่นี่ อ่านแล้วน่าจะช่วยให้เห็นทางสว่างกับโปรเจ็กท์ของตนเอง หรือเห็นช่องทางเสาะหาไอเดียไปเริ่มต้นทำธุรกิจของคุณได้ไม่ยาก

1.Richard Branson

Sir Richard Branson คือหนึ่งในมหาเศรษฐีที่เป็นที่รู้จักกันดี ผู้ก่อตั้ง Virgin Group อาณาจักรธุรกิจที่ประกอบด้วยบริษัทกว่า 400 แห่ง ครอบคลุมธุรกิจสารพัดประเภท ตั้งแต่สายการบิน ค่ายเพลง สำนักพิมพ์ ไปจนถึงธุรกิจเดินทางในอวกาศ

“ธุรกิจดีๆ มีต้นกำเนิดมาจากประสบการณ์ส่วนตัวแย่ๆ ลองหาดูสิว่าอะไรที่กวนใจคุณอยู่ ถ้าคุณคิดว่า ‘เฮ้ย เราทำให้ดีกว่าที่มีคนทำอยู่ได้นี่หว่า’ นั่นแหละคุณก็มีธุรกิจให้ทำแล้ว”

“ถ้าคุณมีไอเดียที่จะเปลี่ยนชีวิตผู้คนได้ นั่นแหละธุรกิจของคุณ ถ้าคิดอะไรที่ช่วยให้ชีวิตคนอื่นดีขึ้นได้ นั่นแหละธุรกิจของคุณ คนทั่วไปมักคิดว่าทุกอย่างมีคนทำไปหมดแล้ว แต่จริงๆแล้ว ช่องว่างทางการตลาดน่ะมีอยู่ตลอดเวลาแหละครับ”

Richard Branson

2.Arianna Huffington

Arianna เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง The Huffington Post เป็นนักเขียนขายดีติดอันดับ New York Times Best Seller (หนังสือ The Sleep Revolution) เธอตัดสินใจก้าวลงจากตำแหน่ง Editor in Chief ของ The Huffington Post ในปี 2016 เพื่อเริ่มธุรกิจสตาร์ตอัพชื่อ Thrive Global เน้นบริการรูปแบบใหม่เพื่อลดความเครียดและสร้างเสริมการดำเนินชีวิตที่ดี

“ถ้าคุณจะเริ่มทำธุรกิจ คุณต้องรักมันจริงๆ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะรักมันหรอกนะ ตอน The Huffington Post เปิดตัวในปี 2005 มีคนรอเหยียบเราซ้ำเยอะมากๆ บางคนถึงกับคอมเม้นต์ว่าเราเป็นความล้มเหลว จะไปไม่รอด แต่พอได้ยินอะไรแบบนั้น คุณต้องเชื่อมั่นใน Product ของคุณจริงๆ ถึงจะสามารถต่อกรกับพวกช่างวิจารณ์ และกัดฟันสู้ต่อไปได้”

Arianna Huffington

3.Tim Ferriss

Tim เป็นนักเขียนขายดีติดอันดับ New York Times Best Seller ถึงสามเล่ม รวมถึงหนังสือชื่อดังสุดๆ อย่าง The 4-Hour Workweek เขายังเป็นนักลงทุน นักจัดรายการ Podcost เกี่ยวกับธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นผู้ประกอบการและโค้ชด้วย

“คำสอนดีที่สุดที่ผมเคยได้รับคือ คุณเป็นค่าเฉลี่ยของคน 5 คนที่คุณติดต่อด้วยมากที่สุด ดังนั้น เลือกเพื่อนและคนรอบตัวให้ดีๆ ที่จริงแล้วผมได้ยินเรื่องนี้จากหลายคนเลยนะ รวมถึงนักเขียนขายดี Drew Houston แห่ง Dropbox และคนอื่นๆ ที่เป็นคนเก่งของ Silicon Valley นี่เป็นสิ่งที่ผมอ่านซ้ำๆ ทุกเช้า พูดอีกอย่างก็คือ คนรอบตัวคุณเป็นตัวตัดสินเงินที่คุณทำได้ สองอย่างนี้มันสัมพันธ์กันน่ะ”

Tim Ferriss

4.Lewis Howes

Lewis Howes คืออดีตนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จ และผู้ประกอบการที่ให้ความรู้คนเป็นพันๆ เพื่อให้เปลี่ยนความสนใจมาเป็นธุรกิจออนไลน์ที่ทำเงินได้ และเป็นเจ้าของ Podcast เชิงธุรกิจชื่อดัง นอกจากนี้ Lewis ยังเป็นนักเขียนขายดีติดอันดับ New York Times Best Seller จากหนังสือ The School of Greatness อีกด้วย

“ความบ้าความสมบูรณ์แบบ (Perfectionism) นี่แหละที่เป็นตัวถ่วงผู้ประกอบการจำนวนมาก เขาจะไม่ยอมเปิดตัวเว็บไซต์หรือผลิตภัณฑ์จนกว่าจะคิดว่ามันสมบูรณ์แบบจริงๆ ซึ่งเป็นการเสียเวลาสุดๆ มันไม่มีวันจะสมบูรณ์แบบหรอก อย่าให้สิ่งนี้ถ่วงคุณ ลงมือทำไปเลยให้เร็วที่สุด แล้วค่อยๆ ปรับ Pitch ไอเดียสินค้าหรือบริการของคุณออกไปเลยทันทีที่มีไอเดียคร่าวๆ วิธีนี้จะทำให้ได้ฟีดแบ็กที่มีค่า ว่าตกลงแล้วตลาดต้องการสินค้าของคุณจริงๆ หรือเปล่า คุณค่อยมาขัดเกลามันทีหลังได้”

Lewis Howes

5.Ankur Nagpal

Ankur คือผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Teachable แพลทฟอร์มชั้นนำสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ช่วยเหลือผู้สอนให้ทำเว็บสวยๆ ทำเนื้อหาด้วยตัวเอง และทำงานหลังบ้านที่เกี่ยวข้องกับการสอน

“ความผิดพลาดที่เจ็บปวดที่สุดที่เห็นคนทำกันซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยเฉพาะกับโปรเจ็กท์แรกนะ คือการพยายามทำให้มันสมบูรณ์แบบ แทนที่จะทำให้มันเสร็จ

เวลาผ่านไปเรื่อยๆ จากสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี ผลที่ได้ก็คือไม่ว่าตอนแรกคุณจะพยายามทำอะไร มันไม่ออกสู่ตลาดเสียทีเพราะความกลัวว่ามันจะไม่สมบูรณ์แบบนี่แหละ ทำไปเถอะ เวลาทำธุรกิจมันง่ายกว่าที่จะขออภัยทีหลัง มากกว่าขออนุญาตทำสิ่งนั้น วิธีเดียวที่จะทำให้ไอเดียธุรกิจของคุณดีขึ้นได้ก็คือ ทำให้มีผู้ใช้มันจริงๆ ลองฟังความเห็นเขาแล้วปรับปรุงจนกว่าผลิตภัณฑ์ของคุณจะดีเยี่ยม”

Ankur Nagpal

6.Guy Kawasaki

Guy เป็นอดีต Chief Evangelist ของ Apple ปัจจุบันดำรงตำแหน่งชื่อเดียวกันให้แก่ Canva สตาร์ตอัพด้านดีไซน์ของออสเตรเลีย ตำแหน่งชื่อแปลกนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะมีหน้าที่พัฒนา “พิมพ์เขียว” หรือแบบตั้งต้นของเทคโนโลยีใดๆ ก็ตามที่ได้รับมอบหมาย Guy เขียนหนังสือมาแล้วกว่า 13 เล่ม รวมถึงหนังสือชื่อดังอย่าง Art of the Start ที่ได้รับการยกย่องจากผู้ประกอบการทั่วโลก

“ผมแนะนำให้โฟกัสกับแบบตั้งต้น (Prototype) อย่าไปโฟกัสเรื่องทำอย่างไรให้นำเสนอไอเดียได้โดนใจนักลงทุน แผนธุรกิจ หรือการคาดการณ์ทางการเงินของธุรกิจนั้นๆ ถ้าคุณทำแบบตั้งต้นได้ดีจนทำให้มีผู้ใช้มากพอ คุณจะไม่ต้องเขียนแผนธุรกิจหรือนั่งคาดการณ์รายได้ในอนาคตเลย แบบตั้งต้นที่ดีนี่แหละทำให้คุณเห็นโลกแห่งความจริง ไม่ใช่สิ่งเพ้อฝัน”

Guy Kawasaki

7.Mark Cuban

Mark เป็นผู้ประกอบการและนักลงทุนของ ABC’s Shark Tank เป็นเจ้าของทีมบาสเกตบอลเอ็นบีเอ (ทีม Dallas Mavericks) เจ้าของโรงภาพยนตร์เครือ Landmark บริษัทตัวแทนจัดจำหน่ายภาพยนตร์ Magnolia Pictures และเป็นประธานของ HDTV Cable Network AXS TV.

“สำหรับคนที่มาขอคำแนะนำ คำถามยอดฮิตของผมคือ หนึ่ง มันเป็นสิ่งที่คุณรักจะทำหรือเปล่า สอง มันเป็นสิ่งที่คุณทำได้ดีหรือเปล่า

เลือกทำอะไรบางอย่าง ที่คุณทั้งรักมันและทำมันได้ดี หลังจากนั้น ก้าวแรกจะเป็นขั้นตอนยากที่สุดเสมอ มันน่ากลัว แต่ขึ้นอยู่กับการเตรียมตัว ทุกคนเคยผ่านขั้นที่ปิ๊งไอเดียธุรกิจอะไรบางอย่าง เราตื่นเต้นสุดๆ รีบเล่าให้เพื่อนฟัง เพื่อนคุณก็จะบอกว่า ว้าว เยี่ยมไปเลย ไม่เคยได้ยินอะไรอย่างนี้มาก่อน เป็นฉันละก็ซื้อแน่ๆ แล้วคุณก็ไปนั่งเสิร์ชกูเกิ้ล แต่อย่างแรกที่ผมจะบอกคือ แค่การที่คุณไม่เห็นไอเดียนั้นในกูเกิ้ล ไม่ได้หมายความว่าไม่มีบริษัทอื่นอีกเป็นร้อยๆ เคยลองทำสิ่งนั้นและเจ๊งไปแล้ว”

Mark Cuban

8.Robert Herjavec

Robert เป็นผู้ประกอบการและนักลงทุนที่เคยปั้น (และขายต่อ) ธุรกิจแก่แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง AT&T ปัจจุบัน เรียกได้ว่าเขาเป็นเจ้าพ่อแห่งวงการธุรกิจเทคโนโลยีด้านรักษาความปลอดภัยข้อมูล เป็นที่รู้จักกันดีจากรายการโทรทัศน์ Shark Tank เพราะเขามักแบ่งปันข้อคิดทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่อยู่เสมอ

“ถ้าโชคดี คุณมีเวลา 90 วินาที ถ้าทำให้คนสนใจไม่ได้ก็เท่ากับเสียโอกาสไปเลย ตัวเลขและข้อมูลต่างๆ สำคัญก็จริง แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมดที่ผู้ลงทุนใช้ในการตัดสินใจว่าจะให้เงินคุณไหม คุณต้องนำเสนอไอเดียในรูปแบบที่ทำให้คนฟังรู้สึกว่าคุณเก่งเรื่องนั้น และมีความเชื่อมั่น ถ้าคุณไม่เตรียมตัวอย่างดีสำหรับการเสนอไอเดีย อาจจะพลาดโอกาสครั้งใหญ่ไปเลยนะ”

Robert Herjavec

9.Nir Eyal

Nir เป็นนักเขียนหนังสือขายดีชื่อ Hooked: How to Build Habit-Forming Products และเขียนบล็อกเชิงจิตวิทยาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ คือเว็บไซต์ NirAndFar.com

“วิธีง่ายที่สุดที่จะรู้ว่าใครเป็นผู้ประกอบการอ่อนหัด คือเมื่อเห็นว่าเขาพยายามปิดไอเดียธุรกิจเป็นความลับ ผมไม่สนใจพวกคนที่ขอให้เซ็น NDA (Non-Disclosure Agreement คือสัญญาการเก็บรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ) ผู้ประกอบการตัวจริงจะรู้ว่า การมีไอเดียเจ๋งๆ มันก็แค่นั้นแหละ ความสำเร็จมาจากการทำงานอย่างหนักต่างหาก ไม่ใช่ความเป็นอัจฉริยะชั่วครู่ชั่วยาม

ความผิดพลาดมหันต์อีกข้อที่ผมเห็นในบรรดาผู้ประกอบการทั้งหลายก็คือพวกที่พัฒนาผลิตภัณฑ์อะไรขึ้นมาโดยที่ยังไม่รู้จักผู้ใช้ดีพอ ผมจึงแนะนำเสมอว่า ให้ทำของสำหรับตัวเองใช้ก่อน อย่างน้อยวิธีนี้ก็จะทำให้ได้ของสำหรับคนที่คุณรู้จักดีจริงๆ บริษัทด้านเทคโนโลยีชื่อดังทั้งหลายในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ สแล็ค หรือสแนปแชท ต่างก็ถูกสร้างขึ้นมาด้วยมือของผู้ก่อตั้ง ที่เริ่มต้นด้วยการทำของแบบที่ตัวเองอยากใช้”

Nir Eyal

10.Sophia Amoruso

Sophia พลิกโฉม Nasty Gal จากร้านค้าเสื้อผ้าเล็กๆบนอีเบย์ให้กลายเป็นอาณาจักรธุรกิจมูลค่าหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐ และได้รับคัดเลือกเป็นแบรนด์ค้าปลีกที่โตเร็วที่สุดแห่งปี 2012 เป็นผู้เขียนหนังสือ Girlboss ที่ขายดีติดอันดับ New York Times Best Seller

“อย่ายอมแพ้ อย่า take it personal และอย่ายอมรับคำปฎิเสธ คุณไม่รู้หรอกว่าระหว่างทางที่ลุยไปจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง พวกคนที่ปฏิเสธฉันในตอนแรก คือคนกลุ่มเดียวกับที่ท้ายสุดแล้วก็ตอบรับฉัน อย่าลืมข้อนี้เสียล่ะ”

Sophia Amoruso


แหล่งที่มา
https://nextempire.co

60 Top Entrepreneurs Share Best Business Advice and Tips for Success


http://blog.creativelive.com/top-entrepreneurs-share-best-business-advice/

บริการของ AirBNB ไปช่วยเหลืออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวท้องถิ่น ไม่ให้ผูกขาดกับธุรกิจโรงแรมที่ราคาแพงกว่า

ทุกวันนี้เริ่มได้ยินคำว่า Startup เยอะขึ้น โดย Startup เป็นอะไรที่ใกล้เคียงกับ SMEs นั่นคือ การเป็นเจ้าของธุรกิจ มีเงินทุน แตกต่างกันก็เพียง SMEs คือ ธุรกิจที่เกิดขึ้นได้โดยมีความพร้อม มีเงินทุน มีแผนธุรกิจ และต้องทำกำไรให้เติบโต แต่สำหรับ Startup คือธุรกิจที่เกิดขึ้นได้โดยไอเดีย มีแผนธุรกิจที่แตกต่างทางด้านช่องทาง สามารถนำนวัตกรรมมาปรับใช้กับธุรกิจให้เติบโตได้เร็วในต้นทุนที่ต่ำ ที่สำหรับ Startup เป้าหมายหลักคือ เงินทุน จาก นายทุน (Venture Capital, VC) เพื่อสานต่อนวัตกรรมและธุรกิจของตัวเอง

ควรเลือกเป็นอะไรดีระหว่าง Startup กับ SMEs?

ไม่ว่าจะเป็น Startup หรือ SMEs แล้วจุดเริ่มต้นส่วนใหญ่มาจากที่เดียวกัน คือการมีธุรกิจเป็นของตนเอง ธุรกิจของตัวเองเป็นสิ่งที่หลายคนต้องการ โดยเฉพาะคนใน Generation นี้ แต่ข้อจำกัดในด้านเงินลงทุนเป็นกำแพงชั้นแรก สำหรับ SMEs ค่าใช้จ่ายสูงในการเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการ

เป็นที่มาของการกู้ยืมเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ หรือบางคนก็อาจจะมีต้นทุนที่ดีกว่ามีโรงงาน มีพื้นที่ มีเงินทุนจากครอบครัวหยิบยืมมาทำ ทำให้ SMEs มีปัญหาในเรื่องของเงินทุน ตรงกันข้าม Startup ในช่วงเริ่มต้นอาจจะใช้เงินทุนของตัวเองในปริมาณที่น้อยกว่า SMEs ในการนำเสนอ Idea จำพวก Business Model ในรูปแบบ Prototype หรือ Pilot Plan (ต้นแบบของตัวรูปแบบแผนธุรกิจ และผลลัพธ์การคำนวณรายได้เบื้องต้น) เดินเข้าไปเสนอกับนายทุน (VC) ด้วยการที่ใช้เงินทุนที่น้อยกว่า SMEs หลายเท่า และใช้เพียงแค่ไอเดียที่สร้างสรรค์ พร้อมแผนธุรกิจต่อยอดที่ตรวจทานรอบครอบพร้อมนำเสนอ

ทำให้หลายคนที่ต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเองในยุคนี้เลือกที่จะเป็น Startup มากกว่า ยังไงก็ตามแม้ว่าแนวทางการเป็น Startup จะเป็นอะไรที่ฟังดูง่าย เป็นไปได้ แค่มีความพร้อม มีไอเดีย สถิติโดยรวมแล้ว ความสำเร็จของ Startup นั้นกลับอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์ อีก 90 เปอร์เซ็นต์ นั้นคือล้มเหลว เพราะ Startup ที่จะประสบความสำเร็จนั้นต้องมีไอเดียที่เข้าขั้น Perfect (ยอดเยี่ยม) จริงๆ ถึงจะได้ไปต่อ หรือ หากว่าไอเดียที่นำเสนอมีความใกล้เคียง หรืออยู่ในส่วนของ การเพิ่มนวัตกรรมเข้าไปช่วยเหลือ การหา VC ที่ชอบก็เหมือนเข้าไปนัดบอดหาคู่คนที่ใช่